
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการเงินและการจัดการ
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการเงินและการจัดการ เป็นหลักสูตรที่เน้นการบูรณา
การความรู้ทฤษฎีด้านการเงิน คณิตศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อมุ่งศึกษา คิดวิเคราะห์ และจัดการ
ปัญหาด้านวิศวกรรมการเงิน โดยใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการ
ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น
ธุรกิจการเงิน การธนาคารและการประกันภัย ซึ่งยังขาดแคลนบุคลากรในปัจจุบัน ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาธุรกิจ
การให้บริการทางการเงินมีอัตราการเจริญเติบโตอยู่ในเกณฑ์สูงอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงทั้ง
จากภายในและภายนอกองค์กร บุคลากรที่มีทักษะการบริหารเฉพาะทางที่เรียกว่า “สาขาวิชาวิศวกรรมการเงิน
และการจัดการ (Financial Engineering and Management)” จึงสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้
แก่องค์กรได้อย่างยั่งยืน
ดร.สุรภาพ รายะนาคร ประธานสาขาวิชาวิศวกรรมการเงินและการจัดการ
วัตถุประสงค์
- ผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์โดยมุ่งเน้นการสร้างศักยภาพในการวิจัยและการจัดการองค์การเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาศาสตร์ความรู้ด้านการจัดการสมัยใหม่ที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศ และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
- ผลิตมหาบัณฑิตให้มีความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงองค์การ ให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์ ทิศทางการพัฒนาของประเทศ และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
- เสริมสร้างทักษะและยกระดับความเข้มแข็ง ตลอดจนความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยการพัฒนาองค์ความรู้ และความสามารถด้านการวิเคราะห์ให้แก่ผู้เรียน
- ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ และประสานงานระหว่างภาคการศึกษาและอุตสาหกรรม รวมทั้งกระตุ้นให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการจัดการธุรกิจที่เอื้อและเกื้อหนุนต่อกันและกัน
อาจารย์ประจำหลักสูตร

ดร.บุญเกียรติ เอี้ยววงษ์เจริญ
คุณวุฒิ :Ph.D. (Systems Science Engineering Management))
สถาบันที่สำเร็จการศึกษา :Portland State University, U.S.

ดร.อานนท์ ทับเที่ยง
คุณวุฒิ :Ph.D. (Computer Network)
สถาบันที่สำเร็จการศึกษา :Pierre-Marie Curie University (Paris 6), France

ดร.มงคล อัศวดิลกฤทธิ์
คุณวุฒิ :ปร.ด. (วิศวกรรมโยธา)
สถาบันที่สำเร็จการศึกษา :มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ประเทศไทย

ผศ.ดร.วรพจน์ อังกสิทธิ์
คุณวุฒิ :Ph.D. (Industrial Engineering)
สถาบันที่สำเร็จการศึกษา :University of Missouri-Columbia, U.S.A.

ดร.ปฏิภาณ แซ่หลิ่ม
คุณวุฒิ :Ph.D. (Development Administration)
สถาบันที่สำเร็จการศึกษา :สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ประเทศไทย
อาจารย์ประจำ

ดร.วินัย หอมสมบัติ
คุณวุฒิ :Ph.D. (Transportation Economics and Logistics Management)
สถาบันที่สำเร็จการศึกษา :The Hong Kong Polytechnic University,Hong Kong SAR
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 42 หน่วยกิต
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน 2 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
- บัญชีการเงิน(Financial Accounting) 2 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 16 หน่วยกิต
- การตัดสินใจทางการเงินสำหรับผู้จัดการ 3 หน่วยกิต
- เศรษฐศาสตร์การจัดการ 3 หน่วยกิต
- การจัดการเชิงกลยุทธ์ในยุคโลกาภิวัตน์ 3 หน่วยกิต
- พฤติกรรมองค์กรเชิงวิธีระบบ 3 หน่วยกิต
- วิธีการดำเนินงานวิจัย 3 หน่วยกิต
- สัมมนาการจัดการและนวัตกรรม 1 หน่วยกิต
หมวดวิชาแกน 12 หน่วยกิต
- FIN 611 การลงทุนและการบริหารพอร์ตโฟลิโอ 3 หน่วยกิต
- FIN 612 ตราสารหนี้ 3 หน่วยกิต
- FIN 613 ตราสารอนุพันธ์ 3 หน่วยกิต
- FIN 614 การบริหารความเสี่ยงสถาบันการเงิน 3 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก (สำหรับแผน ข การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต)
- หัวข้อพิเศษ 1(Special Topic I) 3 หน่วยกิต
- หัวข้อพิเศษ 2(Special Topic II) 3 หน่วยกิต
- เศรษฐศาสตร์การเงิน 3 หน่วยกิต
- เศรษฐศาสตร์การเงินและการลงทุนระหว่างประเทศ 3 หน่วยกิต
- เครดิตสกอริ่งและการบริหารลูกค้ารายย่อย 3 หน่วยกิต
- การออกแบบตราสารการเงิน 3 หน่วยกิต
- เศรษฐมิติทางการเงิน 3 หน่วยกิต
- การพยากรณ์ทางการเงินที่ไม่เป็นเชิงเส้น 3 หน่วยกิต
- การสร้างแบบจำลองความเสี่ยงด้านราคา 3 หน่วยกิต
- การสร้างแบบจำลองความเสี่ยงด้านสินเชื่อ 3 หน่วยกิต
- การสร้างแบบจำลองความเสี่ยงด้านราคา 3 หน่วยกิต
- การสร้างแบบจำลองความเสี่ยงด้านสินเชื่อ 3 หน่วยกิต
- วิชาเลือกที่เปิดสอนโดยบัณฑิตวิทยาลัยฯและได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้สอน 3 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ
สำหรับแผน ก2 (วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต)
- วิทยานิพนธ์(Thesis) 12 หน่วยกิต
สำหรับแผน ข (การศึกษาค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต)
- การวิจัยโครงการเฉพาะเรื่อง 6 หน่วยกิต
- การบริหารจัดการในทางปฏิบัติ 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาภาษาอังกฤษ ไม่นับหน่วยกิต
- วิชาปรับพื้นภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 1 หน่วยกิต
- ภาษาอังกฤษระหว่างการเรียนในหลักสูตรสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
หมายเหตุ
นักศึกษาต้องเรียนวิชา LNG 550 และ/หรือ LNG 600 การยกเว้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับคะแนนการทดสอบและเงื่อนไขตามที่คณะศิลปศาสตร์กำหนด 3 ( 2 – 2 – 9 )